ประวัติความเป็นมาของตำบลโพธิ์เก้าต้น
หมู่บ้านโพธิ์ผีให้ หรือหมู่บ้านโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่าทึบมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมจนน่ากลัว ชาวบ้านคิดว่าผีดุมาก จึงไม่กล้าผ่านบริเวณนี้เขาว่ากันว่าถ้าจะให้คนไปที่เขาวงกตซึ่งมียักษ์ดุยังดีกว่าให้มาที่บริเวณโพธิ์ผีให้ ที่ชายอัปลักษณ์ชื่อมหาอุกขตะมาพำนักอยู่ ณ บริเวณต้นโพธิ์เป็นเวลานาน จนกระทั่งเป็นที่กล่าวขวัญกันโดยทั่วไปว่าทำไมผีหลอกชายอัปลักษณ์นั่น มหาทุกขตะเข็ญใจผู้นั้นได้อาศัยยังชีพด้วยการรับจ้างเป็นเพื่อนทาง แล้วแกก็ได้ค่าตอบแทนยังชีพไปวันหนึ่งๆ แต่ถ้าใครอวดเก่งเพื่อลองดี โดยไม่อาศัย มหาทุขะตะเข็ญใจนำทางแล้วเป็นได้เจอทุกที บางรายถูกผีหลอกเป็นไข้หัวโกร๋นไปก็มี เมื่อได้มีโอกาสพบปะและลองถามว่าเคยได้ยินผีที่ต้นโพธิ์ร้องไห้ไหม แกก็ตอบว่าไม่เคยได้ยินเลยทำไมชาวบ้านระแวกนั้น จึงได้เรียกสถานที่ที่แกอยู่นั้นว่าโพธิ์ผีให้ แกก็ตอบว่า “ก็ผีมันให้ที่ข้าอยู่ที่ต้นโพธิ์นั้นนี่หว่า” เป็นอันว่าเราไม่ต้องสงสัยกันต่อไปว่าที่เขาเรียกกันว่าตำบลโพธิ์ผีให้ หมายถึงอะไรกันแน่
ครั้งแรกมหาอุกขตะ ตั้งใจย่อยักษ์ไปยังโพธิ์ผีให้ซึ่งมีต้นไม้ปกคลุมจำนวนมากทำให้ยักษ์ท้าว โคตระบองมองไม่ค่อยเห็น จึงได้อาศัยติดตามเสียงไล่ตีไปเรื่อย ๆ มหาอุขตะเข็ญเห็นว่าถ้าจะถอยหนีต่อไป ก็คงไม่มีที่อยู่อาศัยแน่ ทั้งนี้เพราะยักษ์ท้าวโคตระบองไล่ตีมหาทุกขตะเข็ญใจจนต้นโพธิ์กิ่งก้านหักหมด เหลือแต่ต้นโพธิ์ กะต้น และเพี้ยนมาเป็นโพธิ์เก้าต้น ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อตำบลจากโพธิ์ผีให้มาเป็นโพธิ์เก้าต้น เมื่อไม่นานมานี้เอง ปัจจุบันบ้านโพธิ์ผีให้ก็ยังมีหลักฐานประจักษ์อยู่ตรงข้ามบ้านคลองตาปิ่น ใต้วัดโพธิ์เก้าต้นไปหน่อยนึง ซึ่งแต่เดิมไม่มีลำน้ำไหลผ่านเช่นทุกวันนี้
ประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น
ประวัติการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีที่มาจากสภาตำบล เหตุที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นมานั้น เนื่องจากรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าว (รัฐบาลชวน หลีกภัย 2537) มีนโยบายที่จะกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ประชาชนให้เข้ามาบริหารท้องถิ่นให้เหมือนกับนานาประเทศ จึงได้พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับ “สภาตำบล” ที่มีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ และได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 โดยให้มีการยกฐานะสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนตำบล” และต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัตินี้มาจนถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ.2546
หลักเกณฑ์การจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งจากสภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยที่มีการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา) การประกาศยกฐานะ สภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยประกาศให้ระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศ ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539 ตั้งอยู่เลขที่ 69/9 หมู่ที่ 8 ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ข้อมูลทั่วไป
ระยะห่างจากอำเภอเมืองลพบุรี ประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับตำบลพรหมมาสตร์ และตำบลท่าหิน
ทิศใต้ ติดกับตำบลโคกลำพาน ตำบลตะลุง และตำบลท้ายตลาด
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลป่าตาล
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลโพธิ์ตรุ และตำบลบางขันหมาก
องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น มีเนื้อที่ประมาณ 24.07 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,045 ไร่ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านกลางตำบลเป็นถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ถนนสายหลักมี 3 สาย คือ
1. สายลพบุรี – บ้านแพรก
2. สายพรหมมาสตร์ – บ้านเบิก
3. สายคันคลองชลประทานลพบุรี – บ้านกุ่ม
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เก้าต้น มีทั้งหมด 13 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางปี่
หมู่ที่ 2 บ้านคลองบางปริก
หมู่ที่3 บ้านคลองท่าควาย
หมู่ที่ 4 บ้านมะนาวหวาน
หมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์เก้าต้น
หมู่ที่ 6 บ้านคลองยายคล้าย
หมู่ที่ 7 บ้านคลองยายสี
หมู่ที่ 8 บ้านฟ้าลงมัน
หมู่ที่ 9 บ้านโพธิ์ผีให้
หมู่ที่ 10 บ้านคลองตาปิ่น
หมู่ที่ 11 บ้านคลองจีน
หมู่ที่ 12 บ้านคลองฉิม
หมู่ที่ 13 บ้านไผ่ขวาง